ReadyPlanet.com
dot dot
อย่ามองข้าม ไฟไหม้หญ้าในเขตเมือง

 จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสรุปภัยแล้ง จังหวัดที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556-ปัจจุบัน มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ 25 จังหวัด 123 อำเภอ 725 ตำบล 6,391 หมู่บ้าน โดยเฉพาะภาคเหนือมีสูงถึง 10 จังหวัด อาทิ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก ฯลฯ 

ส่วนควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ ยืนยันว่า สถานการณ์ไฟป่าในปี 2557 จะรุนแรงและยาวนานกว่าทุกปี สืบเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับปีนี้มีปริมาณเชื้อเพลิงสะสมในพื้นที่ป่าค่อนข้างมาก โอกาสเกิดไฟป่าก็สูง มีข้อมูลถึงวันที่ 12 มีนาคม 2557 พบเกิดไฟป่าแล้ว 236 ครั้ง มีพื้นที่เสียหายไปแล้ว 4,137 ไร่ 

ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างให้ความสำคัญกับปัญหาภัยแล้งที่จะนำมาซึ่งปัญหาไฟป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

สำหรับกรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้น แม้จะเป็นเขตเมือง ก็พบว่ามีปัญหาเช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ชานเมืองรอบนอกกรุงเทพฯ ทางฝั่งตะวันออก หรือแม้แต่ย่านดอนเมือง ที่เป็นย่านบ้านจัดสรร เป็นอีกพื้นที่ที่มีปัญหาจากภัยแล้งทุกปี เพราะยังมีพื้นที่รกร้าง มีหญ้า วัชพืชขึ้นเต็ม โอกาสที่จะมีคนจุดไฟเผาวัชพืช หรือเกิดไฟไหม้และลุกลามไปบ้านเรือน หมู่บ้านจัดสรรจึงมีสูง

นินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม. ให้ข้อมูลว่า ปีนี้มีสถิติไฟไหม้หญ้าในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ สูงถึง 933 ครั้ง จึงได้กำชับให้ทุกสำนักงานเขตสำรวจตรวจตราพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้หญ้าได้ง่าย



ขณะที่ สัญญา ชีนิมิตร รองปลัด กทม. บอกว่า กรณีที่เกิดไฟไหม้หญ้าในพื้นที่รกร้าง ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่นั้นๆ ประสานกับเจ้าของพื้นที่ ซึ่งเป็นเอกชนให้ดำเนินการให้เรียบร้อย เพื่อลดปัญหาเกิดไฟไหม้หญ้า ยิ่งช่วงหน้าร้อนโอกาสเสี่ยงก็สูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา มีการดำเนินการต่างๆ อย่างบางพื้นที่ได้เข้าไปทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟลามเข้าบ้านเรือนใกล้เคียง แต่การทำแนวกันไฟจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่ด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่ในการประสานข้อมูล หรือหากชาวบ้านในพื้นที่ประสบปัญหา ก็สามารถติดต่อไปที่สำนักงานเขตได้ทันทีที่สายด่วน 199 หรือสายด่วน กทม.1555 

ภูมิพัฒน์ ดำรงเกียรติศักดิ์ ผู้อำนวยการเขตดอนเมือง ให้ข้อมูลว่า ดอนเมืองเป็นอีกพื้นที่ที่มีปัญหาไฟไหม้หญ้าช่วงหน้าร้อนมาตลอด และด้วยเหตุนี้เขตดอนเมืองจึงได้ประสานกับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ตั้งจุดเฝ้าระวังที่สำนักงานเขต โดยประสานกับสถานีดับเพลิงลาดยาว ให้นำรถดับเพลิง พร้อมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอยู่ประจำจุดมาเป็นเวลา 2-3 เดือน ซึ่งทำให้เมื่อเกิดเหตุสามารถเข้าสู่พื้นที่ได้เร็วยิ่งขึ้น

"ชาวบ้านมักร้องเรียนว่า มีพื้นที่เอกชนรกร้าง ทำให้เกิดเพลิงไหม้ง่ายขึ้น เขตดอนเมืองได้ประสานไปกับเจ้าของที่ดินตลอด แต่ส่วนใหญ่เจ้าของที่ดินไม่ให้ความร่วมมือ แต่หากบริเวณใดเจ้าของที่ดินอนุญาต เจ้าหน้าที่จะเข้าไปดำเนินการสร้างแนวกันไฟ โดยถากถางพื้นที่ก่อนถึงแนวรั้วบ้านเรือน หรือแปลงพืชประมาณ 5-10 เมตร เพื่อไม่ให้แนวไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่"  ภูมิพัฒน์กล่าว

ปัจจุบันสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.มีศูนย์เฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง สามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้อย่างช้าเฉลี่ยประมาณ 10 นาที โดยจุดพื้นที่เฝ้าระวังมีทั้งสิ้น 48 จุด ได้แก่ บริเวณใต้ทางด่วนแยกถนนสีลม สถานีดับเพลิงบางรัก ถนนข้าวสาร สถานีดับเพลิงภูเขาทอง บริเวณถนนเจริญราษฎร์ สถานีดับเพลิงยานนาวา สมาคมเตชะสัมพันธ์ สถานีดับเพลิงถนนจันทน์ ใต้สะพานข้ามทางรถไฟถนนพระราม 3 สถานีดับเพลิงทุ่งมหาเมฆ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ สถานีดับเพลิงบรรทัดทอง วงเวียนโอเดียน สถานีดับเพลิงสวนมะลิ สวนลุมไนท์บาซาร์ ชุมชนกุหลาบแดง สถานีดับเพลิงบ่อนไก่ บริเวณย่านสถานบันเทิง อาร์ซีเอ ถนนพระราม 9 หน้าห้างสรรพสินค้าจัสโก้ ถนนศรีนครินทร์ สถานีดับเพลิงบางกะปิ สถานีดับเพลิงห้วยขวาง ชุมชนซอยพึ่งมี 50 ถนนสุขุมวิท 

สถานีดับเพลิงคลองเตย หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 หน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ สถานีดับเพลิงหัวหมาก 

สถานีดับเพลิงลาดกระบัง ถนนนิมิตใหม่-ถนนคลองสามวาตลอดสาย หน้าตลาดมีนบุรีถึงห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา หน้าสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ จนถึงหน้าสำนักงานเขตคันนายาว สถานีดับเพลิงบางขัน หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (วิทยาเขตบางนา) และซอยเฉลิมพระเกียรติ สถานีดับเพลิงย่อยประเวศ ถนนสุขุมวิท-ตราด บริเวณสี่แยกบางนา-ตราด ถึงบริเวณแยกทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ สถานีดับเพลิงย่อยบางนา หน้าตลาดสดหนองจอก บริเวณวงเวียนหน้าสำนักงานเขตหนองจอก สถานีดับเพลิงย่อยหนองจอก ทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ขาเข้าและขาออก สถานีดับเพลิงย่อยสะพานสูง บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สถานีดับเพลิงย่อยร่มเกล้า หน้าห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขาประชาชื่น สถานีดับเพลิงลาดยาว ตลาดยิ่งเจริญ (สะพานใหม่) สถานีดับเพลิงบางเขน หน้าโรงเรียนหอวัง สถานีดับเพลิงลาดพร้าว

สถานีดับเพลิงพญาไท ท่าวาสุกรี สถานีดับเพลิงสามเสน ใต้สะพานพระราม 7 ฝั่งพระนคร ถนนประชาราช สถานีดับเพลิงบางซ่อน บริเวณสถานีรถบีอาร์ทีราชพฤกษ์ตัดแยกท่าพระ สถานีดับเพลิงตลาดพลู ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ สถานีดับเพลิงทุ่งครุ หน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สาขาจรัญสนิทวงศ์ สถานีดับเพลิงบางอ้อ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา สาขาพระราม 2 สถานีดับเพลิงดาวคะนอง สมาคมมิตรภาพบางแค สถานีดับเพลิงบางแค หน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร สาขาจรัญสนิทวงศ์ สถานีดับเพลิงบางขุนนนท์ ชุมชนท่าดินแดง 14-16 ถนนท่าดินแดง สถานีดับเพลิงปากคลองสาน บริเวณกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 สถานีดับเพลิงตลิ่งชัน บริเวณสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ ปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 สถานีดับเพลิงธนบุรี บริเวณห้างสรรพสินค้าแม็คโคร สาขาบางบอน สถานีดับเพลิงบางขุนเทียน เชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี สถานีดับเพลิงบวรมงคล และในเร็วๆ นี้ สำนักงานเขตจะมีการสำรวจจุดเสี่ยงเพิ่มเติม เพื่อเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

แต่ทางที่ดีที่สุด ทุกคนในชุมชนควรเฝ้าระวังภัยกันเองด้วย

ที่มา : หน้า 7 มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2557 

โดย : วารุณี สิทธิรังสรรค์ warunee11@yahoo.com

อ่านได้ที่ : www.matichon.co.th/news_detail.php




รายงานพิเศษ

ขอเชิญชวนประชาชนที่มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาล เสนอรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง
“มท.1”ยัน สำรวจประชากรแล้ว รอครม.เคาะเลือกตั้งท้องถิ่น
กกต.เชิญชวนสมัครฯ กกต.ท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 3 ถึง 7 กุมภาพันธ์ 63 นี้ ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ท่านสนใจสมัครฯ
สัญญาณ ภาคใต้ ไขวิกฤต การเมืองไทย ลึกซึ้ง กว้างขวาง
2 ฝ่ายเปิดหน้าสู้ การเมืองหลังสงกรานต์ ต้าน-หนุน"รัฏฐาธิปัตย์"
ถอดรหัสปฏิทิน"กกต.สมชัย"



dot
dot
bulletจังหวัดนครศรีธรรมราช
bulletตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช
bulletม.วลัยลักษณ์
bulletม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
bulletพยากรณ์อากาศ
dot
dot
bulletห้องสมุดดิจิตอล
bulletค้นหาหมายเลขโทรศัพท์
bulletตรวจล็อตตารี่
dot

dot
bulletฟัง FM 87.60MHzคลื่นความคิด คิดดี ทำดี ที่นี่เมืองนคร


มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


สำนักข่าวนครโพสต์ เลขที่ 5/1 ซ.อัศวรักษ์ 1 ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร.075-320227 โทรสาร 075-320716 อีเมลล์ : nakhonpost@hotmail.com