ReadyPlanet.com


นักวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ค้นพบว่า น้ำเสียที่ปล่อยจากอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มเหมาะต่อการบำบัดน้ำเสียแ


รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย             วลัยลักษณ์ ค้นพบว่า น้ำเสียที่ปล่อยจากอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มเหมาะต่อการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ และได้ก๊าซมีเธนเป็นผลตอบแทน ที่สำคัญต้นทุนในการเดินระบบต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ส่วนการผลิตก๊าซมีเธนในถังหมักแบบกวนผสมสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส              ใช้ระยะเวลาเก็บกักน้ำน้อยที่สุด 4 วัน ส่งผลให้การก่อสร้างขนาดถังหมักลดลงช่วยประหยัดต้นทุนค่าก่อสร้างอีกระดับหนึ่ง

พื้นที่ปลูกปาล์มเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย 83% ตั้งอยู่ในภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่                จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดชุมพร ทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องคืออุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน น้ำเสียซึ่งปล่อยจากอุตสาหกรรมนี้มีอุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส, พีเอช 4.4, บีโอดี 65,714 มิลลิกรัม/ลิตร, ซีโอดี 102,696 มิลลิกรัม/ลิตร, ของแข็งทั้งหมด 72,058 มิลลิกรัม/ลิตร, กรดไขมันระเหย 4,202 มิลลิกรัม/ลิตร, แอมโมเนีย-ไนโตรเจน 103 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นต้น

รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา เล่าว่า จากลักษณะดังกล่าวบ่งบอกว่าน้ำเสียเหมาะต่อการบำบัดแบบไร้อากาศ ซึ่งนอกจากจะลดความสกปรกของน้ำเสียได้แล้ว ยังได้ก๊าซมีเธนเป็นผลตอบแทน อีกทั้งต้นทุนในการเดินระบบต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มใช้วัตถุดิบการเกษตร ซึ่งมีผลผลิตออกตามฤดูกาล กรณีวัตถุดิบมีปริมาณมาก น้ำเสียจากการแปรรูปปาล์มย่อมมากตามไปด้วย ซึ่งจากการศึกษาการผลิตก๊าซมีเธนในถังหมักแบบกวนผสมสมบูรณ์ เดินระบบที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และ 55 องศาเซลเซียส พบว่า ระยะเวลากักน้ำน้อยที่สุดในถังหมักที่เดินระบบที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 4 วัน ส่วนที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ใช้เวลานาน 6 วัน โดยอัตราการผลิตแก๊ส อัตราการผลิตมีเธนจำเพาะที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียสสูงกว่าที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส               และถังหมักยังรับอินทรีย์สารที่ป้อนเข้าสู่ถังสูงกว่าที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ดังนั้น การบำบัดน้ำเสียโดยเดินระบบที่อุณหภูมิสูงจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้รวดเร็ว การก่อสร้างขนาดถังหมักลดลงและระยะเวลากักน้ำน้อยลงจึงเป็นการประหยัดต้นทุนค่าก่อสร้างอีกระดับหนึ่ง หากวัตถุดิบน้อย ปริมาณน้ำเสียย่อมน้อยตามไปด้วย การเดินระบบบำบัดที่อุณหภูมิต่ำจึงเหมาะสมกว่า

อย่างไรก็ตาม รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ได้ทดสอบผลกระทบจากการแปรผันอุณหภูมิต่อการผลิตก๊าซมีเธน พบว่า เมื่อเพิ่มอุณหภูมิของถังหมักจาก 37 องศาเซลเซียส จนถึง 43 องศาเซลเซียส หรือลดอุณหภูมิ

จาก 55 องศาเซลเซียส จนถึง 46 องศาเซลเซียส อัตราการผลิตก๊าซ สัดส่วนมีเธน อีกทั้งประสิทธิภาพการลดซีโอดีเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิเป็น 46 องศาเซลเซียส หรือลดอุณหภูมิเป็น 40 องศาเซลเซียส               จะส่งผลต่อการผลิตก๊าซและสัดส่วนมีเธนอย่างมาก สังเกตได้จากกรดไขมันระเหย ซึ่งเป็นสารตัวกลางที่ต้องเปลี่ยนเป็นก๊าซมีเธน มีปริมาณสูง วิธีแก้ปัญหาการสะสมของสารดังกล่าว กระทำโดยลดอัตราการป้อนอินทรีย์สารเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย และเดินระบบบำบัดน้ำเสียที่อุณหภูมิอื่นพร้อมทั้งสังเกตกรดไขมันระเหยที่ลดระดับลง



ผู้ตั้งกระทู้ นายธีรพงศ์ หนูปลอด :: วันที่ลงประกาศ 2008-05-30 10:35:07


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สำนักข่าวนครโพสต์ เลขที่ 5/1 ซ.อัศวรักษ์ 1 ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร.075-320227 โทรสาร 075-320716 อีเมลล์ : nakhonpost@hotmail.com