![]() |
|
สหภาพ กสท. สุดทน สื่อชั่ว ไถ! งบโฆษณา 16 ล้านบาท | |
กระชากหน้ากาก สื่อชั่ว เครือพันธมิตรฯ พันธมาร ฉลองวันนักข่าว 4 มีนาคม 2552 สมาคมวิชาชีพ ไม่แยแสสื่อค่าย ท่าพระอาทิตย์ ทำเรื่องของบโฆษณาประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภาครัฐ 8 เดือน 16 ล้านบาท พอไม่ได้เอาหน้าหนังสือพิมพ์ และหน้าเว็บไซต์ไล่เขียนข่าวโจมตีผู้บริหารระดับสูง จนสหภาพ กสท. ต้องออกมาฉีกหน้ากาก ป่าวประกาศให้ชาวไทยตื่น!!! มารู้ความเลวของสื่อชั่วค่ายนี้ ปฏิรูปสื่อภาครัฐ หยุดผูกขาด กระจายความถี่...ทุกสีเท่าเทียม นาย ** อยากให้ช่วยชี้แจงการเข้ายื่น พ.ร.บ.คลื่นความถี่ ต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ล่าสุดที่ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ร่วมกับ เครือข่ายพลเมืองเน็ต และ กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย หรือกลุ่ม FACT หรือ Freedom Against Censorship Thailand เข้าไปพบนายกรัฐมนตรี และ คุณ ประเด็นแรกคือ อยากให้รัฐบาลได้ตระหนักต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน โดยการประกาศบังคับใช้กฎหมายต่างๆ เช่น การใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือการจะปรับแก้กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยจะให้กระทรวงไอซีทีมีอำนาจเต็มที่ในการเป็นผู้สั่งปิดเว็บไซต์ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล ซึ่งแน่นอนว่ามันจะทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสารโดยหน่วยงานของรัฐ โดยที่เราไม่รู้วัตถุประสงค์เลยว่าเซ็นเซอร์อะไร มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติมว่าถ้ามีกรณีนี้จะเป็นความวิตกกังวลต่อ 3 องค์กร อยากจะให้รัฐบาลเปิดให้ประชาชนและกลุ่มผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบกติกาในการกำกับดูแลกันเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือวิทยุชุมชน ส่วนประเด็นที่ 2 คือ การแก้ไขกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลในเชิงเนื้อหาและการจัดสรรคลื่นด้วย ก็จะต้องเปิดให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะในขณะนี้ภาคเอกชนเองได้มีร่างกฎหมายจัดสรรคลื่นความถี่อีกหนึ่งฉบับที่จะเสนอให้กับรัฐบาล ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 1 หมื่นรายชื่อ ** ปัญหาอยู่ที่ไม่ว่ารัฐบาลชุดใดเข้ามา เหมือนจะบีบบังคับสื่อมวลชนเพราะไม่ต้องการให้ไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ประเด็นเรื่องสื่อกับการแทรกแซงของรัฐ ผมคิดว่ามันมีมายาวนานทุกรัฐบาล เพราะประเด็นอยู่ที่ว่า ในขณะที่สื่อไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล การใช้อำนาจรัฐเข้ามาครอบงำ หรือปิดกั้นไม่ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ถือเป็นอีกวิถีทางหนึ่งซึ่งเป็นโจทย์เรื่องการครอบงำข้อมูลข่าวสารเช่นกัน ในขณะเดียวกัน รัฐเองมีสื่ออยู่ในมือมากมาย ในขณะที่การพูดเรื่องปฏิรูปสื่อในระยะเวลา 11 ปีเศษ คลื่นความถี่ยังคงเป็นของรัฐ รัฐบาลเป็นเพียงผู้บริหารประเทศ แต่ทุกรัฐบาลไม่ได้มีความมุ่งมั่นในการปฏิรูปสื่อในการกระจายความถี่ให้เป็นของสาธารณะ หรือให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ถ้าไม่มีการปรับแก้คลื่นความถี่โดยมีองค์กรอิสระเข้ามากำกับดูแลแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือสิ่งที่เกิดขึ้นบนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในกรณีเว็บไซต์มันจะกว้างขวางออกไป ใครก็สามารถที่จะเป็นเจ้าของเว็บไซต์ได้ เพื่อที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในลักษณะอย่างนี้ได้ ซึ่งถ้าเป็นการวิจารณ์รัฐบาลเป็นสิทธิของประชาชนทุกคนอยู่แล้ว การที่รัฐไม่ผลักดันให้เกิดการแก้ไขหรือการกำกับดูแล ปัญหาที่ตามมาคือไม่มีเกณฑ์ที่จะกำหนดขอบเขตการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลข่าวสารว่าอยู่ที่ตรงไหน ไม่มีขอบเขตกติการ่วมกัน ใครก็สามารถให้ข้อมูลที่บิดเบือนไปได้ ปัญหาคือ ถ้ารัฐเข้ามากำกับดูแลเองก็จะเป็นประเด็นการแทรกแซง ดังนั้น รัฐบาลต้องผลักดันให้มีการปฏิรูปสื่อ และมีการกำกับดูแลกันเอง ไม่ใช่เป็นการปรับแก้หรือแก้ไขสื่อเฉพาะบางส่วน ซึ่งนั่นไม่ได้เรียกว่าการปฏิรูปสื่อ เช่น แนวทางที่รัฐบาลจะปรับปรุงปฏิรูปเอ็นบีทีให้เป็นช่อง 11 มีการเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายค้านใช้สื่อสารด้วยเพื่อความเท่าเทียมกับรัฐบาล ซึ่งคงเป็นมิติที่ดีกว่ารัฐบาลอื่นที่ผ่านมา แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าการป้อนพื้นที่ให้ฝ่ายค้านยังไม่ได้หมายความว่าเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมที่จะใช้พื้นที่ในการสื่อสารได้ ปัญหาที่จะตามมาคือ กรณีเว็บไซต์หรือวิทยุชุมชนซึ่งยังไม่ได้ถูกรับรองโดยกฎหมายลูก แต่มีการรับรองโดยกฎหมายหลัก คือ มีรัฐธรรมนูญรับรองเอาไว้อยู่แล้ว มันก็จะลักลั่นกันในลักษณะนี้ ดังนั้น ถ้าไม่ผลักดันการปฏิรูปสื่อ โจทย์การแทรกแซงก็จะเป็นเรื่องที่หยิบมาพูดคุยซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นปัญหาตลอด สิ่งที่รัฐบาลจะทำในขณะนี้ หรือรัฐบาลชุดก่อนๆ ที่ผ่านมา ที่อยู่บนภาวะความขัดแย้งทางการเมือง ตามเข้าไปเปลี่ยนแปลงสื่อเฉพาะบางส่วนซึ่งไม่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปสื่อทั้งระบบอย่างแท้จริง ** การที่รัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงาน และจะไปแทรกแซงสื่อทันที เพราะอะไร จากข้อปฏิเสธ และแนวทางของรัฐบาลในขณะนี้ เช่น ล่าสุดมีการให้ดีเอสไอไล่ปิดเว็บไซต์และจับกุม พร้อมกับ รมว.ยุติธรรม ออกมาให้ข่าวที่เป็นการปรามและบอกว่า ดีเอสไอมีการจับกุมที่เปิดเผยไป ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องราวอย่างนี้ยิ่งปกปิด ยิ่งเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนต้องให้ความสนใจ เพราะมีผลกระทบต่อสื่อใหม่อย่างเว็บไซต์แน่นอน ถ้าเราหยิบยกกรณีหมิ่นหรือไม่หมิ่นอย่างไรถึงขั้นอาฆาตมาดร้าย เป็นธรรมดาที่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องไม่สมควรอยู่แล้ว แต่ถ้ากรณีที่บอกว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ คงต้องเป็นกรณีที่สังคมต้องจับตามองด้วยว่าควรมีการสร้างเกณฑ์ หรือสร้างกรอบการหมิ่นหรือไม่หมิ่นอย่างไร หรือว่าห้ามพูดไปเลย อันนี้ต้องมีความชัดเจน เนื่องจากว่าประชาชนทั่วไปไม่เข้าใจว่าการเข้าไปโพสต์ข้อความในเว็บไซต์ในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นเข้าข่ายหมิ่นหรือไม่ ต้องผลักดันให้มีการสร้างกติกาตรงนี้ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่าท้ายสุดเกณฑ์กำกับเรื่องเนื้อหาคงไม่ใช่ประเด็นเรื่องหมิ่น คงเป็นประเด็นเล็กน้อยที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวิธีการหรือเป็นรูปธรรมชัดเจนที่เป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งจะนำมาจับกุมปราบปรามหรือยับยั้งฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ประเด็นคือ ถ้าภาคประชาชนสาธารณะทั่วไปไม่ได้สร้างเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องนี้ขึ้นมา สิ่งที่ตามมาคือความหวาดกลัวต่อการแสดงความคิดเห็นในเรื่องราวที่กระทบต่อสังคมเองด้วย ถ้ามีเรื่องราวที่พาดพิงต่อสถาบันหรือองคมนตรีด้วย เราต้องแยกแยะว่าการพูดถึงใครหมิ่นหรือไม่หมิ่นอย่างไร ถ้าภาคประชาชนไม่ร่วมกันและสร้างกติกาตรงนี้ขึ้นมาจะเกิดปัญหาความขัดแย้งต่อไปได้ แน่นอนว่าการเข้าพบรัฐบาลไม่ใช่ว่าให้รัฐบาลมาสร้างเกณฑ์เหล่านี้ แต่หมายความว่ารัฐบาลในฐานะตัวแทนจะผลักดันหรือส่งเสริมอย่างไรให้สร้างแนวทางนี้ขึ้นมา คงเป็นเกณฑ์ที่เป็นจริยธรรมในการกำกับดูแลกันเอง ซึ่งรัฐเองสามารถใช้เกณฑ์เหล่านี้เพื่อที่จะกำกับดูแลได้ แต่ต้องเป็นเกณฑ์ที่มาจากความสมัครใจของผู้ใช้สื่อทั้งหลาย ** คำชี้แจงของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่าจะไม่แทรกแซงสื่อ ตรงจุดนี้สามารถมั่นใจได้หรือไม่ จะถามว่ามั่นใจหรือไม่มั่นใจกับคำตอบของรัฐบาลในขณะนั้น ก็ยังคิดว่าไม่มีความมั่นใจที่จะเชื่อว่าจะเกิดอย่างนั้นจริง อันนี้เราต้องติดตามว่ารัฐจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรต่อไป แม้ว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ จะชี้แจงมาในลักษณะนี้ แต่ข่าววันต่อมาก็ชักจะเห็นว่า รมว.ยุติธรรม ได้มอบหมายให้ดีเอสไอเข้าไปจับกุมเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นมา ** ทุกคนพยายามจับตามองว่าเมื่อรัฐบาลเปลี่ยนจุดยืน รัฐมนตรีที่กำกับสื่อก็จะเปลี่ยน อย่างช่อง 11 มีการพูดว่าเป็นเวทีสาธารณะ ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าสาธารณะเป็นอย่างไร ถ้าพูดเรื่องเวทีสาธารณะที่เป็นแนวทางของรัฐบาล ทราบมาในระดับหนึ่งว่าจะปรับเอ็นบีทีเป็นช่อง 11 ให้เป็นทีวีสาธารณะ แต่ว่าท้ายสุดก็ยังเป็นของรัฐบาลอยู่ เพียงแต่ปรับปรุงเนื้อหาเฉยๆ สุดท้ายรัฐยังเป็นเจ้าของทีวีช่องนี้ ดังนั้น จะมีอำนาจในการกำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนบอร์ด หรือกำกับดูแลเรื่องเนื้อหา ประเด็นนี้คงไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้นะครับว่าข้อมูลที่ออกมาจะมาจากรัฐบาลเดิมๆ หรือเปล่า ** อะไรจะเป็นตัวเร่งให้คณะกรรมการปฏิรูปสื่อทำการผลักดันเกี่ยวกับการทำให้สื่อปลอดจากการแทรกแซง ในประเด็นนี้ผมคิดว่าที่มีข้อเรียกร้องให้แก่รัฐบาลก่อนมีการแถลงนโยบายจากคณะกรรมการปฏิรูปสื่อ มีอยู่ 3 ประเด็นคือ ให้รัฐบาลรับรองและให้หลักประกันกับสื่อภาคประชาชน คือ วิทยุชุมชน หรือโทรทัศน์ชุมชนด้วยนะครับ อันที่ 2 คือว่า รัฐบาลผลักดันให้มีการดำเนินการให้สื่อของรัฐเป็นบริการสาธารณะ โดยเอาคลื่นความถี่ที่อยู่ในกรมประชาสัมพันธ์ หรือกองทัพ ออกมาจัดสรรใหม่ ซึ่งในระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีความหมายชัดอยู่แล้ว แต่ไม่มีรัฐบาลไหนผลักดันให้สื่อของรัฐเป็นสื่อบริการสาธารณะ มีเพียงการเปลี่ยนแปลงหรือขยับตัว เช่น ดัน อสมท. เข้าสู่ตลาดหุ้น ซึ่งจะเป็นไปในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ประเด็นเหล่านี้ต่างหากที่รัฐบาลต้องแก้โจทย์ใหญ่ การพูดถึงช่อง 11 เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะถ้ายังยืนยันว่าช่อง 11 เป็นสื่อของรัฐ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ แม้จะมีการปรับปรุงเนื้อหา อาจจะมีการปรับเนื้อหาเป็นของเด็กและเยาวชนบ้าง เพิ่มเติมเรื่องสุขภาพเข้าไป แต่ก็คงจะไม่ตอบโจทย์ประชาชนทั้งหมดได้ ** คำว่าสื่อสาธารณะถ้ามันไม่สาธารณะอย่างไทยพีบีเอสที่กลายเป็นสื่อเอียงข้าง เวลามีสถานการณ์สำคัญๆ ของบ้านเมือง ถามว่าเอียงข้างหรือไม่ ต้องไปดูว่าการดำเนินการที่เรียกตัวเองเป็นทีวีสาธารณะอย่างไทยพีบีเอสเป็นไปในลักษณะอย่างไร และสามารถตอบสนองประชาชนได้หรือไม่ในเรื่องข้อมูลข่าวสาร เช่น กรณีเนื้อหาเด็กเยาวชนและครอบครัว มันมีเนื้อหาที่ออกผ่านไทยพีบีเอสมากกว่าจริง ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำกับอยู่แล้วนะครับ แต่ปัญหาสำคัญของไทยพีบีเอสอยู่ที่ว่า แม้ว่าจะมีการสรรหาคณะกรรมการขึ้นมาตามนโยบายและมาทำหน้าที่บริหารองค์กร ซึ่งองค์กรนี้ไม่ได้เป็นโทรทัศน์อย่างเดียว ซึ่งจริงๆ มีเรื่องวิทยุ และสื่อมีเดีย สื่อสมัยใหม่ต่างๆ อยู่ด้วย แต่การดำเนินการในขณะนี้ยังเป็นแค่การดำเนินการเกี่ยวกับโทรทัศน์ สิ่งที่กรรมการนโยบายเข้ามาทำในลักษณะนี้ของทีวีไทยเอง ท้ายสุดการเก็บเงิน หรือรายได้อะไรต่างๆ ยังมาจากภาษีเหล้าและบุหรี่ ตัดเข้ามาเพื่อสมทบกองทุนรายปีไม่เกิน 2 พันล้านบาท ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงกันในการผลักดันประเด็นนี้ในสมัย สนช. ถ้าเทียบกับบอกว่าเป็นทีวีสาธารณะจริงหรือไม่ ต้องกลับไปดูว่าประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเป็นเจ้าของด้วยจริงหรือไม่ ถ้าเป็นทีวีของสาธารณะ สาธารณะควรจะมีอำนาจที่กำหนดว่าควรจะมีทิศทางในการดำเนินการอย่างไร ถ้าเอียงข้างหมายถึงการนำเสนอข่าวสารที่ไม่สมดุล เลือกที่จะให้ข้อมูลข่าวสารสนับสนุนอีกด้านหนึ่ง อันนี้คงเป็นกรอบจริยธรรมที่สื่อมวลชนต้องติดตามตรวจสอบด้วย รวมทั้งกลไกของภาคสังคมที่ต้องดูว่าการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของทีวีสาธารณะที่เขาเป็นเจ้าของเหล่านั้น เป็นไปตามสิ่งที่เขาต้องการจริงหรือไม่ *** แล้วเท่าที่ดูคิดว่ามันเป็นกลางหรือไม่ เท่าที่ดูทีวีไทยที่เปิดในขณะนี้ ถือว่ายังมีความหลากหลายในข้อมูลข่าวสารที่จะนำเสนอต่อประชาชน แต่มีบางองค์กร อย่างเช่น มีเดียมอนิเตอร์ ที่งานวิจัยเรื่องการนำเสนอภาพข่าวเห็นอยู่ว่า มีความหลากหลายในระดับหนึ่งที่พอยอมรับได้ แต่อันนี้ต้องเข้าไปดูว่าจริงๆ แล้วประชาชนพอใจหรือไม่กับการนำเสนอข่าว ระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ ** กระบวนการคัดสรรของผู้อำนวยการไทยพีบีเอส หรือว่ากรรมการข้างในที่บอกว่าเล่นพรรคเล่นพวกกัน ในฐานะที่เป็นองค์กรปฏิรูปสื่อเห็นว่าอย่างไร การสรรหากรรมการนโยบายของไทยพีบีเอสที่เกิดขึ้นถือว่ามีกระบวนการที่โปร่งใสอยู่ แม้ว่าจะมีการฟ้องร้องแต่ก็ไม่เป็นประเด็นตามมา กระบวนการสรรหากรรมการไทยพีบีเอสกฎหมายระบุว่า จะต้องเป็นองค์กรใหม่บ้าง ซึ่งแน่นอนว่ากฎหมายที่ระบุกันมาต้องว่าที่ตัวกฎหมายว่าทำไมถึงให้สิทธิ์แค่บางองค์กรเข้ามาเป็นกรรมการสรรหา แต่ในขั้นตอนการสรรหาเห็นว่าทางกรรมการสรรหาก็มีการดำเนินการที่โปร่งใส่ในการที่จะได้กรรมการชุดนี้ออกมา *** ในขณะที่เขาบอกว่ามีการเล่นพรรคเล่นพวก มีความเชื่อในเรื่องนี้หรือไม่ เพราะเป็นข่าวที่หนาหูมาก หมายถึงว่าผลประโยชน์ทับซ้อนจากกรรมการและคณะกรรมการสรรหาใช่หรือไม่ครับ เอ่อ...ข่าวนี้ผมไม่ทราบข้อมูล แต่ก็เป็นปกติธรรมดาที่มีการสรรหาผู้สมัครบางรายอาจจะเข้าไปล็อบบี้กับกรรมการก็เป็นไปได้ ก็เป็นประเด็นหนึ่งได้ ** มีการมองว่ามีการล็อบบี้ที่รับลูกเพื่อให้มีการเสนอข่าวด้านเดียวของไทยพีบีเอส หากสะท้อนมาในแบบนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่จริงว่าไทยพีบีเอสอาจจะมีการนำเสนอข่าวการเมือง สภาวะการขัดแย้งที่เอียงข้าง โดยมีการนำเสนอด้านใดด้านหนึ่ง แม้ว่าจะไม่โจ่งแจ้ง แต่มีประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์ตรงนี้อยู่ ไม่แน่ใจว่าทางไทยพีบีเอสมีการทบทวนหรือพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร หรือมีการยืนยันจุดยืนในการนำเสนอข่าวสารที่ออกมาอย่างไร ** ข้อเรียกร้องที่คณะกรรมการปฏิรูปสื่อบอกว่าคลื่นวิทยุซึ่งเป็นของทหาร ของรัฐ ที่รัฐมนตรีไม่ยอมปล่อยออกมา เป็นเพราะมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนค่อนข้างมหาศาลเป็นอุปสรรคส่วนหนึ่ง โจทย์ที่เป็นรูปธรรม การที่ไม่สามารถทำให้เกิดคณะกรรมการซึ่งจะมาจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ เป็นประเด็นหลักอันเกิดจากอุปสรรคระหว่างตัวกลุ่มทุนรายใหญ่ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ และตัวหน่วยงานรัฐเองที่ยังพยายามจะเป็นเจ้าของอยู่เหมือนเดิม การผลักดันที่ผ่านมาเลยเป็นกรณีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างคณะกรรมการสรรหา และกรรมการ มีการฟ้องศาลและถูกศาลสั่งให้เป็นโมฆะถึง 2 ครั้ง นี่คือสาเหตุของอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้เกิดคณะกรรมการอิสระ ** ตรงนี้มองหรือไม่ว่าเป็นจุดอ่อนของรัฐมนตรีแต่ละคนที่เข้ามาไม่กล้าไปแตะต้อง จนทำให้การปฏิรูปสื่อเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ส่วนหนึ่งของประเด็นนี้ที่ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนจะเข้ามารับผิดชอบ ในส่วนของรัฐบาลเองก็ไม่เคยหยิบยกประเด็นเหล่านั้นมาเป็นเรื่องเป็นราว คือถ้าเราสังเกตว่าการแก้ไขรับธรรมนูญ และสร้างแนวทางที่จะนำไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้น คือต้องไปแก้กฎหมายลูก ถ้ากระบวนการสรรหา กสช. มันไม่โปร่งใส มีวิธีการที่จะปรับแก้กฎหมายในเฉพาะส่วนนั้น เพื่อให้การปฏิรูปสื่อมันเดินหน้าต่อไปได้ แต่ปัญหาคือกลับไปแก้ทั้งระบบ มันจึงมีความซับซ้อนในการที่จะปฏิรูปสื่อในขณะนี้ ตามรัฐธรรมนูญต้องไปแก้ไขกฎหมายลูกก่อน เสร็จแล้วถึงจะมีการสรรหา ในระหว่างนี้ให้ กทช. เองรับหน้าที่ไปพลางๆ มันมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้ามองในแง่ร้ายมันมีเงื่อนไขที่เหมือนเป็นกลอุบายหรือไม่ ที่จะนำไปสู่การไม่เดินหน้า ซึ่งติดในเรื่องเงื่อนไขกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ สิ่งที่ตามมาคือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นระหว่างกว่า 10 ปีนี้ คือไม่ได้เกิดการจัดสรรคลื่นความถี่ คลื่นความถี่ยังคงเป็นของรัฐ กรมประชาสัมพันธ์และกองทัพมีคลื่นอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก รวมกันแล้วก็เกินครึ่งหนึ่ง ** เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนจริงหรือไม่ ในแง่นี้ ไม่ว่ารัฐบาลไหนมา รัฐบาลมีคอนเนคชั่นกับผู้ประกอบการรายใหญ่อยู่แล้ว ที่ไม่ผลักดัน หรือทำให้เกิดภาวะความชะงักงันแบบนี้ มันเกิดประโยชน์กับกลุ่มทุนเอง ในขณะเดียวกันเป็นประโยชน์กับรัฐเอง รัฐยังสามารถใช้กรมประชาสัมพันธ์ ใช้ช่อง 11 เป็นกระบอกเสียงของรัฐได้อยู่ดี ถือว่าเป็นประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย ถ้ามองในแง่นี้คืออุปสรรคสำคัญในการปฏิรูปสื่อที่ผ่านมา ** มองแล้วคิดว่าตัวรัฐมนตรีจะเข้าไปมีประโยชน์ด้วยหรือไม่ เพราะมีกลุ่มอำนาจใหม่เข้ามาเจรจาต่อรองกัน ถ้าพูดกันระหว่างตัวรัฐมนตรีกับช่อง 11 ตรงนี้ไม่ทราบข้อมูลว่ามีความเกี่ยวพันกันอย่างไรบ้าง เพราะรัฐบาลที่ผ่านมามีการเปิดให้บริษัทหนึ่งเข้าไปร่วมผลิตรายการ อันนั้นเป็นข้อครหาหรือเป็นประเด็นว่ารัฐบาลให้การสนับสนุนกับบริษัทนี้เหมือนกัน *** มองเรื่อง ดีทีวี กับ เอเอสทีวี อย่างไร ผมคิดว่านี่เป็นตัวอย่างอีกรูปธรรมหนึ่งเหมือนกันที่ไม่แตกต่างอะไรกับเว็บไซต์หรือวิทยุชุมชน กิจการไม่ว่าจะเป็นเคเบิล หรือดาวเทียมก็ตาม ซึ่งไม่ได้มีใบอนุญาตที่ชัดเจน คือถ้าเอเอสทีวีสามารถดำเนินการได้ ดีทีวีก็สามารถที่จะดำเนินการได้เช่นเดียวกัน แน่นอนว่ามันต้องมีข้อเปรียบเทียบว่าเอเอสทีวีสามารถดำเนินการได้ แต่ดีทีวีไม่สามารถดำเนินการได้ ประเด็นปัญหามันคืออะไร ** ความมั่นคง? ความมั่นคงในที่นี้ต้องตั้งคำถามว่าคือความมั่นคงของรัฐ หรือรัฐบาล กรณีที่พูดถึงเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ผมถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ประชาชนทั่วไป หรือกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลสามารถลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้ แต่แน่นอนว่ามันต้องไม่ข้ามเส้นไปสู่การชักจูงยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง และต้องมีกรอบในการดำเนินการของสื่อด้วยเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเราเปรียบเทียบว่า ถ้าเอเอสทีวีสนับสนุนรัฐบาล อีกฝ่ายหนึ่งสนับสนุนกลุ่มการเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง ในขณะที่ดีทีวีสนับสนุนการเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง แสดงตัวชัดเจน ดีทีวีเองแสดงตัวชัดเจน นี่คือสิ่งที่ต้องแสดงกันในการสื่อสาร แต่ต้องเปิดให้ประชาชนรับรู้ด้วยว่าตัวเองมีอุดมการณ์ทางการเมืองขัดแย้งกับทางรัฐบาลอย่างไร ถ้าเป็นการนำเสนอสนับสนุนข่าวสารเป็นสิทธิที่เราจะเรียกร้องกับรัฐที่ผ่านมา เวลารัฐบาลไหนขึ้นมาบริหารราชการ มาทำหน้าที่ มักจะเข้าไปปิดปากฝ่ายตรงข้ามไม่ให้มีสื่อที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ซึ่งทำให้มีแต่เสียงที่รัฐบาลสามารถควบคุมได้เท่านั้นที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ หรือเป็นแค่บางประเด็นเท่านั้นที่ไม่กระทบต่อรัฐบาลจริงๆ ** มองเอเอสทีวีเป็นการปลุกระดมหรือไม่ เพราะมีการออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าบอกว่าเป็นการปลุกระดมนั้น อันนี้ผมมองว่าเป็นการยกระดับไปเป็นสื่อการเมืองอย่างชัดเจนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสื่อเอเอสทีวี หรือดีทีวี อันนี้ตั้งโจทย์ว่าถ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างหรือมีขั้วทางการเมืองที่แตกต่าง ถ้าแสดงตัวในลักษณะนี้ มีสิทธิที่จะแสดงตัวนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ ถ้าบอกว่ามีการยั่วยุปลุกระดมหรือไม่ ผมมองว่าที่ผ่านมาเอเอสทีวีมีการแสดงบทบาทนั้นชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแวดวงวิชาการหรือประชาชนมีการตั้งคำถามอยู่ แม้กระทั่งกลุ่มคนที่ชื่นชอบเอเอสทีวีซึ่งเป็นผู้ชมก็ตาม ประชาชนที่ชมเอเอสทีวีไปซื้อจานของเอเอสทีวี หรืออีกหน่อยจะไปซื้อจานของดีทีวีมาติดตั้งก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเชื่อหรือยอมรับข้อมูลข่าวสารนี้ทั้งหมด *** หมายความว่าถ้าเอเอสทีวีปลุกระดมได้ ดีทีวีก็ปลุกระดมได้เช่นกัน นี่คือโจทย์เดียวกัน คือถ้าเรายอมรับให้สื่อหนึ่งที่เป็นสื่อการเมือง ถึงขั้นปลุกระดม มีการใช้ความรุนแรง ผมว่าอันนั้นต้องไปว่ากันที่ความเหมาะสม ว่าจริงๆ แล้วจะนำไปสู่ความรุนแรง ความเป็นภัยอย่างไร มากขึ้นไหมนะครับ ** ดูแล้วรัฐบาลก็ไม่สนใจเรื่องนี้ ทั้งเอเอสทีวี และดีทีวี อันนี้คงเป็นประเด็นที่จะตั้งคำถามไปยังรัฐบาลว่า ถ้ารัฐบาลมีกลุ่มทางการเมืองที่มีความเห็นขัดแย้งกับทางรัฐบาล การที่กลุ่มเหล่านั้นจะมีสื่อเพื่อเผยแพร่ความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง อันนี้ไม่นับรวมการให้ข้อมูลที่บิดเบือนต่อข้อเท็จจริงนะ ก็เป็นสิทธิที่กลุ่มนั้นจะนำเสนอได้ ไม่เช่นนั้นก็จะถูกเปรียบเทียบได้ว่าต้องเป็นเอเอสทีวีที่สนับสนุนรัฐบาลอย่างเดียวหรือเปล่าถึงจะมีสิทธิประกอบการ ดำเนินการเหล่านี้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าการประกอบกิจการเคเบิลทีวีไม่ได้มีมิติในทางการเมืองอย่างเดียว ยังมีมิติของเรื่องธุรกิจเข้ามาประกอบด้วย ** มองเรื่องการปฏิรูปสื่อว่าจะสำเร็จหรือไม่ และอีกนานเท่าไรจึงจะสำเร็จ ผมมองว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนรวมตัวหรือตื่นตัวเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ไม่ได้หมายความว่าสื่อจะเป็นเรื่องของผู้ประกอบวิชาชีพเพียงอย่างเดียว ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาถ้าเราบอกว่าการไม่เกิด รสช. ในด้านดีด้านหนึ่งคือ ความพยายามของภาคสังคมที่พยายามจะเข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลการสรรหาต่างๆ และหากจะมองในแง่ร้ายคือ ทำให้ไม่เกิดกรรมการ ไม่เกิดองค์กรอิสระ แล้วทำให้ไม่เกิดการจัดสรร ตรงนี้อาจเป็นข้อเสีย แต่หมายความว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นคนผลักดันให้มันเกิดขึ้นต่างหาก ไม่ได้หมายความว่าพอไม่เกิดขึ้นจะปล่อยให้การปฏิรูปสื่อค้างคาแบบนี้ เพราะการทำให้เกิดภาวะสุญญากาศแบบนี้ ปัญหาที่ตามมาคือรัฐบาลจะตกเป็นเป้าในการที่จะเข้ามากำกับและดูแลสื่อ ** มีการกำหนดหรือไม่ว่า หากรัฐบาลไม่ทำตามกำหนดเป็นเวลาเท่าไร แล้วองค์กรต้องออกมาเคลื่อนไหว ที่ผ่านมาที่มีการผลักดัน ประชาชนพยายามรวมตัวกัน และผลักดันไปตามระบบหรือกลไกที่มันเกิดขึ้น คือไม่ได้หมายความว่าจะมีข้อเปลี่ยนแปลงหรือพลิกไปเลยในทันที การผลักดันที่ผ่านมามีความคืบหน้าอย่างไรนั้น รัฐเองมีความพยายามที่จะปรับตัว อย่างเช่น เอา อสมท. ไปค้าขาย ก็มีความพยายามในการปรับตัว แต่ปัญหาที่ตามมาคือ คลื่นเหล่านี้ต่างหากที่จะทำให้เกิดการจัดสรรใหม่ได้อย่างไร วันนี้เรื่อง กทช. พูดมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วว่าจะมีการเปิดและให้ใบอนุญาต แต่ กทช. เองไม่มีอำนาจตามกฎหมาย เพราะว่าการจะให้ใบอนุญาต 3G ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้บริการเนื้อหาด้วย ไม่ใช่การสื่อสารเฉพาะบุคคลเหมือนโทรศัพท์ทั่วไป แต่การให้บริการเนื้อหาต้องรอ กสช. ซึ่งต้องมีการกำกับดูแลเนื้อหาอีกระดับหนึ่ง ดังนั้น กทช. เองไม่สามารถจะผลักดันเรื่องนี้ต่อไปได้ ถ้าเราเห็นว่ากิจการด้านโทรคมนาคมอาจจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจ การผลักดันทั้งระบบให้เกิดขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อกิจการ หรือเศรษฐกิจในกิจการคมนาคมด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้กิจการโทรคมนาคมมีบทบาทด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เพราะกิจการโทรคมนาคมต้องใช้คลื่นของสาธารณะ เมื่อถามว่าอีกนานหรือไม่การปฏิรูปสื่อจึงจะสำเร็จ ต้องตอบว่ายังไม่เห็นเป้าว่าจะปฏิรูปสื่อทั้งหมดได้เมื่อไร จริงๆ นะครับ แต่ว่าภายใน10 ปีที่ผ่านมามีการพัฒนา อย่างน้อยวิทยุชุมชนที่มีความพยายามเข้ามาใช้คลื่นความถี่เพื่อจะพยายามใช้สิทธิการสื่อสารของตัวเอง ซึ่งวันนี้จากวิทยุชุมชนกว่าร้อยสถานี กลายเป็นวิทยุธุรกิจในระดับท้องถิ่นอีก 4-5 พันสถานี ปัญหาอยู่ตรงที่ว่ารัฐจะกำกับและดูแลอย่างไร นี่ไม่ได้หมายความถึงรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงองค์กรอิสระด้วย เพราะไม่เช่นนั้น ต่างคนต่างลุกขึ้นมาใช้สิทธิ แต่ไม่มีการกำกับดูแล พอไม่มีการกำกับดูแล เนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจนเรียกว่าเป็นการยั่วยุ หรือล้ำเส้นออกไป รัฐบาลต้องลงมาดำเนินการเอง ต้องลงมาจัดการเอง ต้องถูกประเด็นนี้ว่าเป็นปัญหาเรื่องการแทรกแซงจากรัฐอยู่ดี กลายเป็นปัญหางูกินหางเข้าไป ** กรณีการยึดสนามบินกลายเป็นเครื่องมือของสื่อด้วยว่ารัฐบาลซึ่งถือหางอีกซีกหนึ่ง ถือว่ามาตรฐานตรงนี้ เลยไม่จัดการให้เบ็ดเสร็จ ต่อไปจะเป็นปัญหาของสื่อหรือไม่ว่า สื่อแต่ละค่ายก็จะแบ่งกันเลย จรรยาบรรณก็ไม่มี การปฏิรูปสื่อก็จะไม่เกิดขึ้นเป็นไปได้หรือไม่ การปฏิรูปสื่อที่เราพูดกันในเชิงโครงสร้าง คือการกระจายการถือครองคลื่นความถี่ให้แบ่งเป็นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยของการบริการสาธารณะ ซึ่งทั้งรัฐ สมาคม สถาบันการศึกษา ก็สามารถเข้ามาประกอบกิจการในส่วนเหล่านี้ได้ หรือภาคธุรกิจอาจประกอบการแบบแสวงหากำไรได้ ภาคประชาชนก็สามารถประกอบกิจการในลักษณะบริการชุมชนได้ นี่ไม่ได้หมายความว่าการประกอบกิจการทั้งหลายไม่มีกรอบกติกาเรื่องจรรยาบรรณอยู่เลย ทุกกิจการต้องมีเส้น มีขอบเขตของการดำเนินการว่าจะดำเนินการอย่างไรไม่ให้ไปสู่การหมิ่นหรือให้ร้ายบุคคล อันนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา หรือว่าการนำเสนอเนื้อหาที่อาจจะรุนแรงหรือเรื่องเพศ การใช้ภาษาอันนี้ก็เป็นจรรยาบรรณอีกกรอบหนึ่งเท่านั้น ซึ่งต้องมีกลไกผลักดันให้เกิดการกำกับดูแล *** เท่าที่ฟังมา ดูจะไม่มีความเชื่อมั่นในตัว คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บอกว่าไม่มีความเชื่อมั่นเลยคงไม่ได้นะครับ ไม่ว่ารัฐบาลไหน หรือรัฐมนตรีคนไหนจะเข้ามาดูแลเรื่องสื่อ สิ่งที่ประชาชนต้องคอยจับตาตรวจสอบนโยบายว่ารัฐจะดำเนินนโยบายไปเพื่อรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น หรือเป็นการลิดรอนแทรกแซงสื่อ กรณีที่เอ่ยมาเรื่องกรอบหรือจรรยาบรรณของสื่อมวลชนเอง ไม่ได้หมายความว่าจะพัฒนาไปสู่การนำเสนออะไรก็ได้ โดยไม่ยึดโยงไปสู่ประชาชน ถ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาล การนำเสนอที่แตกต่าง แฉ หรือวิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบรัฐบาล เป็นประโยชน์ที่ประชาชนจะได้ข้อมูลข่าวสาร คือมันต้องมีเส้นแบ่งของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เหมือนกัน ถ้ามีกรอบจรรยาบรรณกำกับดูแล หน่วยงานเช่นองค์กรอิสระจะถือกลไกนี้ถึงสิทธิในการประกอบกิจการ เช่น การเพิกถอนใบอนุญาต หากมีสถานีเคเบิลแห่งหนึ่งนำเสนอเนื้อหาที่มีการก่อให้เกิดการยั่วยุ เกลียดชัง นำไปสู่ความรุนแรง ก็นำไปสู่การเพิกถอนใบอนุญาตได้ ถามว่ามีข้อวิตกในกรณีนี้ไหม จริงๆ แล้วกฎหมายที่ออกมาตั้งแต่สมัย สนช. จะมีกฎหมายที่ว่าด้วยมาตรา 37 ของการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่ระบุชัดเจนว่า ให้คณะกรรมการสามารถมีอำนาจ และสามารถสั่งปิดสถานีนั้นได้ด้วยวาจา ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากว่ากฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้ สื่อมวลชนกระแสหลักไม่ได้มีความตื่นตัว ผมไม่แน่ใจว่าสื่อมวลชนเองมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ *** เรื่องรัฐธรรมนูญ หากจะมีการปฏิรูปการเมือง คิดว่ามีมาตราไหนที่เกี่ยวข้องกับสื่อบ้าง เรื่องรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา การยึดรวมองค์กรคงเป็นโจทย์หนึ่งที่มีการตั้งประเด็นและพูดคุยกันอยู่ แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว การยุบรวมที่ถูกตั้งโจทย์ในรัฐธรรมนูญปี 2550 จะต้องทำให้เกิดการแก้ไขหรือไม่ หรือควรจะต้องเพิ่มมาตรา เช่น ระยะเวลาในการเร่งรัดให้รัฐบาลที่เข้ามาทำหน้าที่ผลักดันให้สำเร็จอย่างไร คือกรณีระยะเวลานั้นมีการพูดถึงอย่างชัดเจน อย่างเช่น ภายในระยะเวลา 1-2 ปีนี้ จะต้องมีการปฏิรูปสื่อ แต่ต้องมีตัวชี้วัดว่ารายละเอียดของการปฏิรูปสื่อคืออะไร ** คิดว่ามาตรา 38, 39 และ 40 ต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ จากมาตรา 38, 39 และ 40 ในปี 2540 วันนี้มันก็เปลี่ยนมาเป็นมาตรา 45, 46, 47 และ 48 นะครับ ที่เพิ่มเติมมาว่า นักการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ คือถ้าเป็นตัวเนื้อหาเหล่านี้ประเด็นที่ต้องทบทวนก็คือว่า กรณีการยึดรวมองค์กรต่างหากที่จะต้องตั้งคำถามว่าควรจะแก้หรือควรจะผลักดันอย่างไร เพราะมันเป็นปัญหาค้างคาเกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อในทุกวันนี้ | |
ผู้ตั้งกระทู้ namo :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-17 17:48:25 |
สำนักข่าวนครโพสต์ เลขที่ 5/1 ซ.อัศวรักษ์ 1 ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร.075-320227 โทรสาร 075-320716 อีเมลล์ : nakhonpost@hotmail.com |
![]() |
Visitors : 466552 |